ปราสาทหินพิมาย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นปราสาทหินในนิกายมหายานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุราว1,000 ปี ในปี พ.ศ.2532 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นปราสาทหินในนิกายมหายานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุราว1,000 ปี ปราสาทหินพิมายมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าชื่อ พิมาย มากจากคำว่า วิมายะ หรือวิมายะปุระ เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏในศิลาจารึก เกือบทั้งหมดของปราสาทหินพิมายมีสภาพปรักหักพังทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ในพุทธศักราช 2507 กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนองค์ปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมายจนแล้วเสร็จในพุทธศักราช 2511 ปราสาทหินพิมายนับเป็นพุทธศาสนสถานในลัทธิมหายานที่สร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ในปี พ.ศ.2532 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
บริเวณรอบๆ ปราสาทหินพิมายจะพบโบราณสถานที่น่าสนใจอยู่มากมาย เริ่มจาก สะพานนาคราช บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้ สร้างด้วยหินทราย มีผนังเป็นรูปกากบาท ยกสูงจากพื้นดิน ราวสะพานทำเป็นลำตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียรสะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์
ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ซุ้มประตูหรือโคปุระ ก่อด้วยหินทรายตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้วอยู่ในแนวตรงกันทั้งหมด 4 ด้าน คือ ทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ตรงกลางของกำแพงตะวันตกจะค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนเข้าสู่โลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
ซุ้มประตูและระเบียงคด อาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธานระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วคือ มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางของกำแพงทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศใต้ คือ รอยจารึกบริเวณกรอบประตูห้องกลางด้าน ทิศตะวันออกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ระบุชื่อ "กมรเตงชคตวิมาย" และ กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพที่สำคัญชื่อ "กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย" ตรงกับ พ.ศ.1651 ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูงและพระนามพระมหากษัตริย์ คือ พระเจ้าธรณีนทวรมันที่ 1
ชาลาทางเดิน ก่อสร้างด้วยหินทราย เมื่อผ่านซุ้มประตูด้านทิศใต้เข้ามา จะเป็นลานชั้นนอกของปราสาท จะเห็นแนวทางทอดไปยังประตูกลางของซุ้มประตูระเบียงคด แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก เป็นหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นว่าทางเดินมีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้องรองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
ปราสาทประธาน ถือเป็นจุดศูนย์กลางและสำคัญที่สุด สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ มณฑป และเรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบันทับหลัง เป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ด้านทิศใต้ เป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า "ห้องครรภคฤหะ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ บริเวณพื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร
ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธาน ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พบประติมากรรมสลักด้วยหินทราย 2 ชิ้น คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ สันนิษฐานว่า เป็นรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีกรูปหนึ่งเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่า ส่วนศรีษะและแขนหักหายไปเชื่อว่าเป็นรุปของพระนางชัยราชเทวีมเหสี
บรรณาลัย อยู่บริเวณลานชั้นนอกปราสาทหินระหว่างซุ้มประตูกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง
พลับพลาเปลื้องเครื่อง อยู่บริเวณด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ถือเป็นแหล่งโบราณสถานและประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่ทรงคุณค่า ใครที่ชอบเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์ นี่เป็นอีกสถานที่หนึ่งไม่มีควรพลาดมาเยี่ยมชม